ตาขี้เกียจ อาการและการรักษาภาวะตาขี้เกียจ
ตาขี้เกียจเป็นความผิดปกติของพัฒนาการด้านการมองเห็น ซึ่งตาไม่อาจทำงานใน ระดับสายตาปกติได้ถึงแม้จะสวมใส่ แว่นตาตามใบสั่งตัด หรือ สวมใส่คอนแทคเลนส์แล้วก็ตาม.
เรียกอีกอย่างว่าภาวะตาขี้เกียจ ตาขี้เกียจมักเริ่มพบในช่วงวัยทารกและเด็กปฐมวัย ในกรณีส่วนใหญ่ ดวงตาเพียงข้างเดียวเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ในบางกรณีการมองเห็นที่ลดลงอาจเกิดขึ้นได้ในตาทั้งสองข้าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากตรวจพบตาขี้เกียจในช่วงต้นของชีวิต และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาสายตาได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ภาวะตาขี้เกียจอาจทำให้เกิดความพิการทางสายตาอย่างรุนแรงในตาข้างที่ได้รับผลกระทบ
ตามข้อมูลการวิเคราะห์ งานศึกษาวิจัย 73 ชิ้น ที่ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ค่าประมาณของความชุกของภาวะตาขี้เกียจทั่วโลกคือ 1.75 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด
ความชุกของภาวะตาขี้เกียจจะแตกต่างกันไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก โดยมีความชุกสูงสุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรป (ร้อยละ 3.67)
สัญญาณและอาการของตาขี้เกียจ
เนื่องจากตาขี้เกียจเป็นปัญหาของพัฒนาการด้านการมองเห็นของทารก อาการของภาวะนี้อาจเป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดลงไปได้
อย่างไรก็ตามสาเหตุที่พบบ่อยของอาการตาขี้เกียจก็คือ ตาเหล่ตาเข. ดังนั้นหากคุณสังเกตเห็นว่าทารกหรือลูกเล็กของคุณมีภาวะตาเหล่ตาเข หรือมีสายตาที่ไม่ตรงในลักษณะอื่น ๆ ให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการมองเห็นของเด็กเล็ก
เบาะแสอีกประการหนึ่งที่ลูกของคุณอาจมีอาการตาขี้เกียจก็คือ ถ้าเด็กร้องไห้หรืองอแงเมื่อคุณปิดตาข้างหนึ่ง
คุณสามารถลองทำแบบทดสอบคัดกรองง่าย ๆ ที่บ้านได้โดยเพียงแค่ปิดและเปิดตาของเด็ก (ทีละข้าง) เมื่อเด็กกำลังทำกิจกรรมที่ใช้สายตา อย่างเช่น ดูโทรทัศน์
หากลูกของคุณไม่ได้แสดงอาการงอแงเมื่อถูกปิดตาข้างหนึ่ง แต่ขัดขืนเมื่อปิดตาอีกข้าง นี้อาจชี้ให้เห็นว่าดวงตาที่คุณปิดอยู่นั้นเป็นตาข้างที่"ดี" และข้างที่ไม่ได้ปิดเป็นตาขี้เกียจซึ่งทำให้ตามัว
แต่การตรวจคัดกรองอย่างง่ายไม่สามารถทดแทนการตรวจตาอย่างละเอียดได้
ตรวจดวงตาของบุตรหลานของคุณตามคำแนะนำเพื่อให้แน่ใจว่าบุตรหลานของท่านมีสายตาปกติทั้งสองข้าง และดวงตาทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างเหมาะสม
อะไรเป็นสาเหตุของโรคตาขี้เกียจ
ตาขี้เกียจมีสามประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่มีอยู่เดิม:
ตาขี้เกียจเนื่องจากตาเหล่ตาเข (Strabismic amblyopia)
ตาเหล่ตาเขเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการตาขี้เกียจ เพื่อหลีกเลี่ยง การเห็นภาพซ้อน ที่เกิดจากดวงตาที่เรียงตัวไม่เสมอกัน สมองจะเพิกเฉยต่อการมองเห็นจากตาที่ไม่อยู่ในแนวที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้ข้างดังกล่าวกลายเป็นตาขี้เกียจ ("ภาวะตาขี้เกียจ") ตาขี้เกียจประเภทนี้เรียกว่าสายตาขี้เกียจเนื่องจากตาเหล่ตาเข
ตาขี้เกียจเนื่องจากมีการหักเหแสงที่ผิดปกติ (Refractive amblyopia)
คือตาขี้เกียจที่เกิดจาก การหักเหของแสงผิดปกติไม่เท่ากันสองด้าน แม้ดวงตาทั้งสองเรียงตัวในแนวที่สมบูรณ์แบบ ตัวอย่างเช่น ตาข้างหนึ่งอาจมีปัญหาสายตาสั้น ที่ต้องได้รับการแก้ไขแต่ไม่ได้รักษา หรือ อาจสายตายาวในขณะที่ตาอีกข้างเป็นปกติ
หรือตาข้างหนึ่งอาจมีปัญหา สายตาเอียงที่ต้องแก้ไข และตาอีกข้างไม่เป็น ในกรณีเช่นนี้ สมองคนเราจะพึ่งตาข้างที่มีปัญหาในการหักเหของแสงซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไขน้อยกว่า และ"ส่งผลให้"การมองเห็นจากตาอีกข้างหนึ่งพร่ามัว จนทำให้ตาข้างที่ไม่ได้ใช้งานเกิดเป็นตาขี้เกียจ
อาการตาขี้เกียจประเภทนี้เรียกว่าภาวะสายตาผิดปกติจากการหักเหของแสง (หรือ anisometropic amblyopia)
ตาขี้เกียจเนื่องจากถูกปิดกั้นการมองเห็น (Deprivation amblyopia)
นี่คือตาขี้เกียจที่เกิดจากมีบางอย่างที่ไปขัดขวางแสงไม่ให้ส่องผ่านเข้ามาได้และปรับโฟกัสในดวงตาของทารก อย่างเช่น ต้อกระจกแต่กำเนิด. การรักษาต้อกระจกแต่กำเนิดอย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้พัฒนาการทางสายตาเป็นไปตามปกติ
การรักษาตาขี้เกียจ
ในบางกรณีของสายตาขี้เกียจเนื่องจากมีการหักเหแสงที่ผิดปกติ สามารถแก้ไขให้สายตากลับมาเป็นปกติได้ เพียงแค่แก้ไขการหักเหแสงที่ผิดปกติในดวงตาทั้งสองข้างด้วยการสวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วอย่างน้อยก็จำเป็นต้องมีการปิดดวงตาข้างที่"ดี" เพื่อบังคับให้สมองหันกลับมามองภาพที่รับมาจากตาข้างที่ขี้เกียจ ซึ่งจะทำให้การสายตาข้างนั้นกลับมามองเห็นได้เป็นปกติได้
การรักษาตาขี้เกียจเนื่องจากตาเหล่ตาเขมักเกี่ยวข้องกับการผ่าตัดตาเหล่ เพื่อให้ดวงตากลับมาตรง ตามด้วยการปิดตาและมักใช้วิธีการรักษาสายตารูปแบบอื่นร่วมด้วย (หรือที่เรียกว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาเพื่อช่วยให้ดวงตาทั้งสองข้างทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างเท่าเทียมกัน
การปิดตาอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันหรือตลอดทั้งวันและอาจดำเนินต่อไปเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน
หากคุณมีปัญหามากกับการที่บุตรหลานของคุณถอดแผ่นปิดตาออก คุณอาจพิจารณาคอนแทคเลนส์เทียมที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อป้องกันไม่ให้แสงเข้าสู่ดวงตาข้างดี แต่ไม่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ภายนอกของบุตรหลานของท่าน
แม้ว่าเลนส์เทียมจะมีราคาแพงกว่าแผ่นปิดตาธรรมดาและต้องมี การตรวจวัดค่าสายตาเพื่อตัดคอนแทคเลนส์ และลองให้พอดี แต่เลนส์เหล่านี้ก็ทำงานได้อย่างน่ามหัศจรรย์ในการรักษาตาขี้เกียจสำหรับกรณีที่ยากเนื่องจากไม่สามารถปิดตาได้เป็นอย่างดี
ในเด็กบางคนอาจมีการใช้ยาหยอดตา atropine เพื่อรักษาตาขี้เกียจแทนการใช้แผ่นปิดตา หยดหนึ่งหยดลงในดวงตาข้างที่ดีของเด็กในแต่ละวัน (ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตาของคุณจะให้คำแนะนำคุณ) การทำให้ตามัวโดยใช้ยา Atropine ในสายตาข้างที่ดี ซึ่งเป็นการบังคับให้บุตรหลานของคุณใช้สายตาข้างที่มีตาขี้เกียจมากขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้ตาข้างดังกล่าว
ข้อดีอย่างหนึ่งของการใช้ยาหยอดตา atropine ก็คือ ไม่ต้องใช้ความระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา เพื่อคอยดูว่าบุตรหลานของคุณสวมแผ่นปิดตาอยู่หรือไม่
ในงานศึกษาวิจัยขนาดใหญ่การศึกษาหนึ่ง ซึ่งศึกษาในเด็ก 419 คนที่อายุต่ำกว่า 7 ปีซึ่งมีตาขี้เกียจในช่วงตั้งแต่ 20/40 (6/12) ถึง 20/100 (6/30) ก่อนการรักษา การบำบัดด้วย atropine ให้ผลลัพธ์ที่ดีเทียบเท่ากับการปิดตา (แม้ว่าการดีขึ้นของระดับสายตาในตาข้างที่ขี้เกียจจะดีขึ้นเล็กน้อยในกลุ่มปิดตา) นี่เป็นผลให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตาบางคนซึ่งก่อนหน้านี้ยังมีความเคลือบแคลงใจมาใช้ atropine เป็นทางเลือกแรกของการรักษาตาขี้เกียจหันมาใช้มากกว่าการปิดตา
อย่างไรก็ตามยา atropine มีผลข้างเคียงที่ควรพิจารณา ได้แก่ ความไวต่อแสง (เนื่องจากตาขยายตลอดเวลา) รอยแดงและอาจเกิดอัมพาตที่กล้ามเนื้อปรับเลนส์หลังการใช้ atropine ในระยะยาว ซึ่งอาจส่งผลต่อการปรับตาดูใกล้ไกล (accomodation) หรือความสามารถในการเปลี่ยนโฟกัส
คำแนะนำสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ที่มีภาวะตาขี้เกียจ
หลายปีที่ผ่านมาผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าหากไม่ได้เริ่มการรักษาตาขี้เกียจในช่วงต้นของชีวิต การทำให้ระดับสายตาดีขึ้นนั้นก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ ช่วงเวลานาทีทองสำหรับการเริ่มต้นบำบัดรักษากล่าวกันว่าคือเมื่ออายุประมาณ 8 ขวบ
แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าเด็กโตและผู้ใหญ่ที่ประสบภาวะสายตาขี้เกียจมาเป็นเวลานาน ก็อาจได้รับประโยชน์จากการรักษาตาขี้เกียจโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงระดับสายตา การแยกความแตกต่างของความมืด-สว่าง (contrast sensitivity).
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อรักษาตาขี้เกียจ และใช้งานโดยผู้เชี่ยวชาญการประกอบแว่นตาที่เชี่ยวชาญด้านการมองเห็นและการบำบัดการมองเห็นในเด็ก
การตรวจหาและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นสิ่งสำคัญ
แม้ว่าการรักษาตาขี้เกียจสมัยใหม่อาจช่วยปรับปรุงการมองเห็นในเด็กโตและผู้ใหญ่ได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ยอมรับว่าการตรวจหาและรักษาตาขี้เกียจในระยะเริ่มแรกสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการทางสายตาตามปกติ และให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากการรักษาตาขี้เกียจ
ตาขี้เกียจจะไม่หายไปเอง และตาขี้เกียจที่ไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่ปัญหาทางสายตาอย่างถาวร หากในชีวิตต่อไปดวงตาข้างที่ดีของลูกของคุณเกิดเป็นโรคหรือได้รับบาดเจ็บ ลูกของคุณจะต้องพึ่งพาตาข้างที่มองเห็นได้ไม่ดีเนื่องจากตาขี้เกียจ ดังนั้นจึงเป็นการดีที่สุดที่จะรักษาอาการตาขี้เกียจเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ
ในบางกรณีความบกพร่องของการหักเหของแสงที่ไม่ได้รับการแก้ไขและตาขี้เกียจในเด็กเล็กอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ดูเหมือนจะบ่งบอกถึงการพัฒนาหรือความผิดปกติอื่น ๆ เมื่อปัญหาเกี่ยวข้องกับการมองเห็นอย่างแท้จริง
หน้าที่ตีพิมพ์ใน วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564