ผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบ ม่านตาอักเสบ และหนังตาอักเสบ
ภาวะม่านตาอักเสบคือการอักเสบของผนังชั้นกลางของลูกตา ซึ่งประกอบด้วยม่านตา เนื้อเยื่อซิลเลียรี่ และเยื้อหุ้มลูกตา โครงสร้างโดยรวมเหล่านี้เรียกว่าผนังลูกตาชั้นกลาง
ม่านตาอักเสบอาจมีสาเหตุหลายอย่างได้แก่ การบาดเจ็บที่ตา และโรคอักเสบเรื้อรัง การสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษ เช่น ยาฆ่าแมลงและกรดที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่อาจทำให้ม่านตาอักเสบได้
ประเภทของม่านตาอักเสบที่คุณเป็นแบ่งตามการอักเสบที่เกิดขึ้นในผนังลูกตาชั้นกลาง:
ช่องหน้าลูกตาอักเสบ คือการอักเสบของม่านตา (ม่านตาอักเสบ) หรือม่านตาและเนื้อเยื่อซิลเลียรี่
การอักเสบในวุ้นตา คือการอักเสบของเนื้อเยื่อซิลเลียรี่
ช่องหลังลูกตาอักเสบ คือการอักเสบของเยื้อหุ้มลูกตา
ม่านตาอักเสบกระจาย (เรียกอีกอย่างว่าม่านตาอักเสบทุกส่วน) คือการอักเสบของทุกพื้นที่ของผนังลูกตาชั้นกลาง
มีหลายกรณีที่ม่านตาอักเสบเป็นโรคเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้มากมาย ซึ่งรวมถึงการขุ่นมัวของกระจกตา ต้อกระจก ความดันในลูกตาสูง (IOP) ต้อหิน จอตาบวมหรือ จอตาลอก ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
สถิติความชุกของม่านตาอักเสบแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลก อย่างไรก็ตาม นักวิจัย ผู้ตรวจทาน 522 บทความจากหลายประเทศเกี่ยวกับสาเหตุและรูปแบบของม่านตาอักเสบและ 22 บทวิจารณ์เกี่ยวกับระบาดวิทยาที่สำคัญสรุปว่ามีผลต่อประชากร 52.4 คน จาก 100,000 คน
อาการของม่านตาอักเสบ
อาการของม่านตาอักเสบด้านหน้ารวมไปถึง:
การอักเสบในวุ้นตาและช่องหลังลูกตาอักเสบมักไม่เจ็บปวด อาการของโรคม่านตาอักเสบประเภทนี้รวมไปถึง ตาพร่ามัวและการมองเห็นเงา ซึ่งมักเกิดในตาทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคอักเสบในวุ้นตามักจะอยู่ในวัยรุ่นอายุ 20 หรือ 30 ปี
ม่านตาอักเสบกระจายมีอาการรวมกันของม่านตาอักเสบทุกประเภท
ม่านตาอักเสบเกิดจากสาเหตุอะไร
ม่านตาอักเสบมีหลายสาเหตุ รวมทั้งการติดเชื้อไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรีย แต่ในหลาย ๆ กรณีมักจะไม่ทราบสาเหตุ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพตามักจะสามารถระบุสาเหตุของม่านตาอักเสบได้หากมีการบาดเจ็บที่ดวงตาหรือคุณมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันหรือติดเชื้อ
ความผิดปกติที่อาจทำให้เกิดม่านตาอักเสบรวมไปถึง:
โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด
เริม
โรคงูสวัด
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก
โรคฉี่หนู
โรคลูปัส
โรคไลม์
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
โรคสะเก็ดเงิน
โรคซาร์คอยด์
ซิฟิลิส
โรคพยาธิตัวกลม
โรคท็อกโซพลาสโมซิส
วัณโรค
นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังถูกระบุว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคม่านตาอักเสบอีกด้วย
การรักษาผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบและม่านตาอักเสบ
หากจักษุแพทย์ของคุณระบุว่าคุณเป็นโรคม่านตาอักเสบ แพทย์อาจจะสั่งจ่ายสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบในตาของคุณ
ไม่ว่าสเตียรอยด์จะเป็นยาหยอดตา ยาเม็ด หรือฉีด ขึ้นอยู่กับชนิดของม่านตาอักเสบที่คุณเป็น เนื่องจากม่านตาอักเสบมีผลต่อด้านหน้าของดวงตาจึงมักรักษาด้วยยาหยอดตา
โรคช่องหลังลูกตาอักเสบมักต้องใช้ยาเม็ดหรือยาฉีด การรักษาใด ๆ เหล่านี้อาจใช้สำหรับการอักเสบในวุ้นตาโดยขึ้นอยู่กับอาการของคุณ
สเตียรอยด์และสารกดภูมิคุ้มกันอื่น ๆ สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้หลายอย่าง เช่น ความเสียหายของไต น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน และต้อหิน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสเตียรอยด์ในรูปแบบเม็ดยา เนื่องจากขนาดยาต้องค่อนข้างสูงเพื่อให้ยาเพียงพอที่จะหาทางไปยังด้านหลังของดวงตาได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาของแพทย์อย่างระมัดระวังและหมั่นไปพบแพทย์เป็นประจำเพื่อติดตามความคืบหน้าของการรักษา
หากคุณมีโรคช่องหน้าลูกตาอักเสบ นอกจากแพทย์จะสั่งยาสเตียรอยด์แล้วยังอาจจะสั่งยาหยอดตาขยายรูม่านตาเพื่อลดอาการปวดอีกด้วย คุณอาจต้องใช้ยาหยอดตาเพื่อลดความดันลูกตาหากคุณมีอาการ ความดันในลูกตา เนื่องจากม่านตาอักเสบ
หากคุณมีอาการทางระบบที่เป็นที่รู้จักว่าอาจเป็นสาเหตุของโรคม่านตาอักเสบ แพทย์ของคุณจะรักษาโรคนั้นด้วยเช่นกัน
หากคุณมีความไวต่อแสง (ตากลัวแสง) จากม่านตาอักเสบเรื้อรังหรือม่านตาอักเสบ ให้สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาของคุณเกี่ยวกับ เลนส์เปลี่ยนสีอัตโนมัติ เลนส์แว่นตาเหล่านี้จะมีสีเข้มขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อโดนแสงแดดเพื่อลดความรู้สึกไม่สบายที่เกี่ยวข้องกับแสงเมื่อออกไปข้างนอก
หน้าที่ตีพิมพ์ใน วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564